พิษน้ำท่วม กระทบ “ผลผลิต” เกษตรกรแบกต้นทุน เลี้ยงหมูไม่ไหว

น้ำหลากหลายพื้นที่ อุปนายกสโมสรผู้เลี้ยงหมูแห่งชาติ เปิดเผยกระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ทั้งยังรายย่อย รายกึ่งกลาง แล้วก็รายใหญ่ ทนหามเงินลงทุนสูงไม่ไหว จะต้องลด ผลิตผล” จากเดิม 19-20 ล้านตัวต่อปี เหลือ 15 ล้านตัวต่อปี หรือลดน้อยลง 25 %

น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์การเลี้ยงสุกรในปัจจบุันว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบให้ “ผลผลิต” สุกรเสียหาย เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรส่วนใหญ่ชะลอการนำสุกรชุดใหม่เข้าเลี้ยงออกไปก่อน และบางส่วนเข้าเลี้ยงสุกรบางลงไม่เต็มกำลังการผลิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วม

และรอดูสถานการณ์โรค ทั้งภาวะโรคในสัตว์ อาทิ PRRS หรือเพิร์ส และสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ขณะที่ต้นทุนการผลิตสุกรในปัจจุบันตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) อยู่ที่ 80.50 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจัยสำคัญมาจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น

โดยเฉพาะข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ใช้ในสูตรการผลิตอาหารสุกรมากถึง 50 % มีราคาถึงกิโลกรัมละ 11.35 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

ปัจจุบัน คาดว่า ประเทศไทยจะมีแม่สุกรจำนวน 8 แสนตัว ลดลงจากปกติที่มีจำนวน 1.1 ล้านตัว คิดเป็น “ผลผลิต” สุกรที่หายไปจากระบบประมาณ 30 % ทำให้คาดว่าไทยจะมีการผลิตสุกรขุนจำนวน 15 ล้านตัวต่อปี จากเดิมที่มีการผลิตที่ 19-20 ล้านตัวต่อปี หรือลดลง 25 %

เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ ต่างมีความระมัดระวังในการนำสุกรเข้าเลี้ยง โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนสะสมนานกว่า 3 ปีในช่วงก่อนหน้านี้

น.สพ.วิวัฒน์ กล่าวว่า ในปี 2564 เกษตรกรได้มีการบริหารจัดการฟาร์มและพัฒนาระบบการเลี้ยงด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Biosecurity ในฟาร์มอย่างเข้มงวด เพื่อSLOTXOเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ป้องกันความเสี่ยงจากโรค ASF

ขณะเดียวกัน โรค PRRS ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้การผลิตสุกรเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยและฟาร์มขนาดเล็กมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

ขณะเดียวกัน ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังได้รับผลกระทบจากภาคธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมที่หดตัวลง เนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 มีการปิดสถานที่เสี่ยง รวมถึงมาตรการล็อคดาวน์ของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา

ทำให้สิ่งที่จำเป็นบริโภคเนื้อหมูน้อยลง มีผลต่อราคาขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกรมีภาวการณ์ต่ำ สวนกับทุนที่มากขึ้นโดยตลอด ซึ่งมีผลกระทบในการตัดสินใจเข้าเลี้่ยงหมูขุนลดน้อยลงดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*